รวมคำถามเกร็ดความรู้ในช่วงท้ายของอนิเมชั่น “มหาศึกล้างพิภพ” |
1. จะมีสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเกือบ 500องศาเซลเซียสหรือไม่? (ep30)
ตอบ : ชั้นบรรยากาศวัดจากพื้นดาวศุกร์ 48-60 กม. มีอุณหภูมิประมาณ 25องศาเซลเซียสมีสารอาหารและน้ำ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะดำรงชีพได้
2. เมื่อเรามองทางช้างเผือกอันกว้างใหญ่ที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล จะพบว่ามีกลุ่มดาวบางกลุ่มเป็นสีแดง บางกลุ่มเป็นสีน้ำเงิน แบบนี้เป็นเพราะสาเหตุใด? (ep31)
ตอบ : เพราะปรากฏการณ์ด๊อพเพลอร์ของแสง ยิ่งดาวอยู่ห่างจากคุณเท่าไร ความยาวคลื่นแสงมาถึงโลกก็ยิ่งไกล ยิ่งแสงที่พวกเรามองเห็นเป็นสีแดงเท่าไร สะท้อนกลับก็ยิ่งเป็นแสงสีน้ำเงินเท่านั้น
3. ดาวพลูโตเคยอยู่ในดาวเคราะห์ทั้งเก้า และมีหน้ามีตาระยะหนึ่ง แต่เมื่อ15ปีก่อนกลับถูกเตะออกจากสถานภาพดาวเคราะห์ เป็นเพราะสาเหตุใด? (ep32)
ตอบ : เพราะดาวพลูโตไม่เป็นไปตามข้อกำหนดใหม่ของคำนิยามดาวเคราะห์ จำเป็นต้องจัดระเบียบวงโคจรวัตถุท้องฟ้าอื่นที่อยู่ใกล้เคียง จึงถูกปลดออกไปโดยปริยาย
4. เมื่อเราแหงนมองดวงดาวมากมายที่ระยิบระยับ เหมือนดวงดาวกำลังกะพริบตา เหตุใดจึงเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้? (ep33)
ตอบ : เมื่อแสงดาวผ่านชั้นบรรยากาศจะเกิดการหักเหหลายครั้ง กว่าจะสะท้อนมาที่ดวงตาของเรา เนื่องจากความไม่เสถียรของชั้นบรรยากาศจึงทำให้แสงดาวที่ได้รับผลกระทบจากการก่อกวนของชั้นบรรยากาศมีทิศทางเบี่ยงเบนเสมอ เมื่อเรามองจึงเดี๋ยวมืด เดี๋ยวสว่างคล้ายกำลังกะพริบตา
5. ทำไมพวกเราถึงไม่สามารถสำรวจหลุมดำตรงๆ ได้ แต่ทำไมกลับคิดว่าเนื้อแท้ของมันไม่ซับซ้อน? (ep34)
ตอบ : หลุมดำมีแรงดึงดูดมากในการคัดรายละเอียดที่ซับซ้อนทิ้ง เหลือไว้แค่โมดูลทรงกลมที่สมบูรณ์แบบที่สุด คุณสมบัติทั้งหมดถูกกำหนดโดยปริมาณประจุไฟฟ้าและโมเมนตัมเชิงมุม
6. หลุมดำกลืนกินทุกอย่างได้แม้แต่แสงก็หนีไม่พ้น แล้วพวกเราหามันเจอได้อย่างไร? (ep35)
ตอบ : ศูนย์กลางของหลุมดำมีภาวะเอกฐานคุณภาพสูงมาก จะดูดสสารโดยรอบเข้าไป เมื่อสสารกระทบกันเกิดการแผ่รังสีออกมา เราก็สังเกตเห็นหลุมดำได้แล้ว
7. ท้องฟ้าตอนกลางคืนที่ปลอดโปร่ง พวกเรามักจะเห็นกลุ่มดาวที่กระจายอย่างหนาแน่น แล้วระหว่างดาวฤกษ์บนฟ้าจะมีการชนกันหรือไม่? (ep36)
ตอบ : กลุ่มดาวดูเหมือนหนาแน่นแต่ความเป็นจริงห่างกันมาก เช่นดาวฤกษ์ในปรากฏการณ์ฝนตกแดดออกที่ใกล้กันที่สุดห่างกัน 4.22ปีแสง ก็เหมือนรถสองคันที่ห่างกัน 150,000 กิโลเมตร รวมทั้งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่ถึง 0.1มม./วินาที เป็นไปได้น้อยมากที่จะชนกัน
8. ท้องฟ้ายามค่ำคืนหลากสีด้วยดวงดาว แล้วทำไมสีของพวกมันถึงเจิดจ้าหลากหลาย? (ep37)
ตอบ : ดาวฤกษ์สีต่างกันเพราะแสงสะท้อนอุณหภูมิบนพื้นผิวที่ต่างกัน เหมือนในชีวิตประจำวัน เปลวไฟสีฟ้าอุณหภูมิสูง เปลวไฟสีเหลืองส้มอุณหภูมิต่ำ
9. สิ่งมีชีวิตบนโลกใช้คาร์บอนเป็นธาตุพื้นฐาน ถ้างั้นในอวกาศจะมีสิ่งมีชีวิตที่ใช้ปัจจัยอื่นๆ เป็นพื้นฐานไหม? (ep38)
ตอบ : คาร์บอนสี่อะตอมรวมกับธาตุออกซิเจนได้ เกิดเป็นพอลิเมอร์ห่วงโซ่อะตอมกลายเป็นพื้นฐานของโครงกระดูกสิ่งมีชีวิต และสารซิลิคอนเหล่านี้ก็ทำได้เช่นกัน ดังนั้นสารซิลิคอนอาจเป็นหินรากฐานของมนุษย์ต่างดาวก็ได้
10. ระยะห่างหนึ่งปีแสง แสงต้องใช้เวลาหนึ่งปีในการเดินทางไปถึงจริงหรือไม่? (ep39)
ตอบ : สำหรับแสงไม่ใช่ จากการขยายขนาดของเวลา วัตถุยิ่งเร็วเวลารอบข้างยิ่งช้า หลังเข้าใกล้ความเร็วของแสงเวลาจะยิ่งใกล้เคียงกับการหยุดนิ่ง ดังนั้นระยะห่างหนึ่งปีแสงในการเดินทางของแสงจะไปถึงภายในชั่วพริบตา
11. ดวงอาทิตย์จะถูกน้ำดับให้มอดได้หรือไม่? (ep40)
ตอบ : ไม่ได้ น้ำจะดับไฟสำเร็จต้องผ่านการลดอุณหภูมิและขาดออกซิเจน แต่ดวงอาทิตย์ปล่อยความร้อนออกมาโดยการหลอมนิวเคลียส จึงไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำ รวมทั้งสารประกอบไฮโดรเจนและออกซิเจนล้วนเป็นเชื้อเพลิงในการหลอม หลังจากสัมผัสน้ำ ดวงอาทิตย์จะยิ่งเกิดการหลอมนิวเคลียสรุนแรงขึ้น
12. ท้องฟ้าไม่ใช่ทรงกลม แต่ทำไมมองแล้วเหมือนบอลครึ่งลูกที่ครอบทั่วทุกสารทิศเอาไว้? (ep41)
ตอบ : เพราะเหล่าดวงดาวล้วนอยู่ไกลลิบ ทำให้ระยะห่างที่พวกเรารับรู้สูญเสียไป จึงรู้สึกไปเองว่าดาวทุกดวงล้วนห่างจากพวกเราเท่าๆ กัน ก่อเกิดเป็นแนวคิดทรงกลมที่มีรัศมีวงกลมเหมือนกัน
13. ในอวกาศมีดาวฤกษ์นับไม่ถ้วนที่ส่องแสงได้เหมือนดวงอาทิตย์ แต่ทำไมท้องฟ้ายามค่ำคืนถึงยังมืดอยู่ดี? (ep42)
ตอบ : เพราะการขยายตัวของอวกาศ ทำให้แสงถูกดึงออกนอกพื้นที่ที่มองเห็นแสง นอกจากนี้แสงที่อยู่นอกขอบเขตของอวกาศก็ไม่สามารถมาถึงโลกได้ ดังนั้นแสงที่พวกเราเห็นจึงมีจำกัด
14. เมื่อมนุษย์ตกลงไปในหลุมดำจะเกิดอะไรขึ้น? (ep43)
ตอบ : เมื่อร่างกายของมนุษญ์ตกลงไปในหลุมดำ แรงดึงมหาศาลของหลุมดำจะดึงร่างคนจนฉีกออกเป็นชิ้นๆ
15. ทำไมกลุ่มดาวฤกษ์ในจักรวาลส่วนใหญ่ถึงเป็นแนวราบ? (ep44)
ตอบ : เมื่อหมุนร่มตอนที่เม็ดฝนตกใส่ น้ำที่กระเด็นออกมาจะหมุนเป็นน้ำวน กลุ่มดาวฤกษ์ก็ใช้หลักการเดียวกัน กลุ่มดาวฤกษ์เกิดจากเนบิวลา ศูนย์กลางจะก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ เนบิวลาที่อยู่ไกลออกไปจะถูกหมุนอัตโนมัติก่อตัวเป็นรูปร่างดาวเคราะห์
16. ดาวเคราะห์แปดดวงในระบบสุริยะรวมถึงโลก ทำไมพวกมันถึงมีลักษณะเป็นทรงกลม แต่ไม่มีรูปทรงอื่น? (ep45)
ตอบ : เนื่องจากแรงดึงดูดที่เกิดขึ้นระหว่างสสารกับพื้นผิวดาวเคราะห์จะมีทิศทางมุ่งสู่แกนดาวและมีขนาดเท่ากัน ทำให้สสารบนดาวเคราะห์ค่อยๆ มีแนวโน้มกระจัดกระจายเป็นทรงกลมแบน
17. เคยมีนักดาราศาสตร์เสนอว่า “พวกเราล้วนเป็นฝุ่นของดวงดาว” จะอธิบายประโยคนี้ว่าอย่างไร? (ep46)
ตอบ : โลกประกอบขึ้นจากฝุ่นละออง จากการปะทะและรวมตัวกันของเนบิวลา ทุกสรรพสิ่งที่เราหาพบบนพื้นโลก ล้วนมาจากฝุ่นละอองของเนบิวลา ทุกอะตอมในร่างกายมนุษย์ล้วนเกิดจากที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในอวกาศ อวกาศดูเหมือนจะห่างไกลแต่กลับเกี่ยวพันใกล้ชิดกับพวกเรา
18. ท้องฟ้าไม่ได้มีทรงกลม แต่ทำไมเวลามองแล้วเหมือนครึ่งวงกลมที่ครอบคลุมทุกสารทิศอยู่? (ep47)
ตอบ : เพราะเหล่าดวงดาวอยู่ไกลเกินไป ทำให้พวกเราสูญเสียการรับรู้ความใกล้ไกลไป คิดไปเองว่าดวงดาวทุกดวงอยู่ห่างจากพวกเราเท่ากัน จึงเกิดเป็นรัศมีวงกลมจากแนวคิดทรงกลม
19. ผู้คนคิดว่าปกติจะต้องทำความสะอาดฝุ่นละออง แต่ถ้าชั้นบรรยากาศของโลกไม่มีฝุ่นละอองจะมีผลอะไรตามมา? (ep48)
ตอบ : โครงสร้างอะตอมของเชื้อเพลิงและอุณหภูมิทุกอย่าง ล้วนเกิดจากการเคลื่อนที่ของอะตอม ในสภาวะศูนย์สัมบูรณ์ทรัพยากรจะสูญเสียพลังงานจลน์ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อีก เพราะเหตุนี้อุณหภูมิจึงไม่สามารถลดลงได้
20. ผู้คนคิดว่าปกติจะต้องทำความสะอาดฝุ่นละออง แต่ถ้าชั้นบรรยากาศของโลกไม่มีฝุ่นละอองจะมีผลอะไรตามมา? (ep49)
ตอบ : แสงอาทิตย์จะไม่กระจายผ่านฝุ่นละอองจะร้อนมากจนทำให้คนเราลืมตายาก และการดูดซับความชื้นที่ไม่มีฝุ่นละออง ท้องฟ้าก็จะสร้างเมฆ หมอก ฝน และหิมะ มาปรับอากาศได้ยาก และปรากฏการณ์ธรรมชาติจะหายไปจำนวนมาก เช่น หมอกทึบ หมอกระหว่างเทือกเขา และรุ้งกินน้ำ เป็นต้น
21. ทำไมน้ำร้อนถึงหายร้อน ทำไมความขี้เกียจสบายกว่าการมีวินัย ทำไมชีวิตมักเดินสู่ความตายเสมอ? (ep50)
ตอบ : เพราะกฏของเอนโทรปีในระบบโดดเดี่ยว ถ้าไม่มีแรงภายนอกมาทำให้เกิดงานก็จะไม่มีเอนโทรปีเพิ่มขึ้น จักรวาลคือระบบที่เกิดเอนโทรปีอย่างต่อเนื่อง ความขี้เกียจและความตายก็สอดคล้องกับกฏเอนโทรปี แสดงให้เห็นจุดจบของจักรวาลล่วงหน้า
22. มนุษย์มีเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สุุด ที่สามารถสำรวจนอกเอกภพที่ห่างออกไป 12.9 พันล้านปีแสงได้แล้ว แต่เพราะเหตุใดถึงยังสำรวจไม่พบร่องรอยการมีอยู่ของมนุษย์ต่างดาว? (ep51)
ตอบ : สำหรับเอกภพแล้ว ระยะทาง 12.9 พันล้านปีแสงเป็นเพียงเสี้ยวของอวกาศ การเสาะหาอารยธรรมในเอกภพแบบนี้ไม่ต่างกับการงมเข็มในมหาสมุทร ต่อให้มีอารยธรรมอยู่สักที่บนวัตถุท้องฟ้าที่ห่างไกลออกไป แต่สิ่งที่มนุษย์สำรวจเห็นก็เป็นเพียงลักษณะหลายร้อยล้านปีก่อนของมันเท่านั้น เวลาหลายร้อยล้านปีเหลือเฟือให้มันพัฒนาปกปิดการมีอยู่ของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
23. ในประวัติการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ของมนุษย์ พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกเสมอ อย่างนั้นบนดาวเคราะห์อื่นๆ ก็เป็นเหมือนกันหรือไม่? (ep52)
ตอบ : ในระบบสุริยะ มีดาวศุกร์ดวงเดียวที่หมุนย้อนกลับ ทิศทางการหมุนคือจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก เพราะเหตุนี้บนดาวศุกร์ “พระอาทิตย์จึงขึ้นทางทิศตะวันตก”
24. ถ้ามีวันหนึ่งอวกาศถูกน้ำทะเลท่วม ดาวดวงใดจะลอยบนผิวน้ำได้? (ep53)
ตอบ : ดาวเสาร์ เพราะมันกลวงและอวบ มีความหนาแน่นเฉลี่ยเพียง 0.069กรัม/ลบ.ซม. ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำมาก
25. นักบินอวกาศสูงขึ้นเมื่ออยู่ในอวกาศ หรือว่า เคล็ดวิชาอวกาศเพิ่มความสูง มีอยู่จริงอย่างนั้นหรือ? (ep54)
ตอบ : สก๊อตต์ เคลลี นักบินอวกาศชาวอเมริกัน เมื่อกลับถึงโลกมีความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 5ซม. เป็นเพราะในอวกาศไม่มีแรงโน้มถ่วง หมอนรองกระดูกสันหลังจึงขยายขึ้นเล็กน้อย
26. ต่างรู้โดยทั่วกันว่า คำว่า“ใช้ชีวิตแต่ละวันยาวนานนับพันปี” เป็นคำศัพท์ที่เกินความ ถ้าอย่างนั้นในความเป็นจริงมีสถานที่ที่ “หนึ่งวันยาวนานกว่าหนึ่งปีจริงหรือไม่?” (ep55)
ตอบ : บนดาววีนัส หนึ่งวันผ่านไปช้ากว่าหนึ่งปีจริงๆ เพราะการหมุนรอบตัวเองของดาววีนัสเท่ากับ 243วันบนโลก แต่เวลาที่มันโคจรรอบดวงอาทิตย์เท่ากับ 224.7วันบนโลก
27. แมกนีทาร์เป็นดาวนิวตรอนที่มีสนามแม่เหล็กแรงมากในอวกาศ เมื่อมันเข้าใกล้โลกจะเกิดอะไรขึ้น? (ep56)
ตอบ : สนามแม่เหล็กของแมกนีทาร์แรงกว่าของโลก 200ล้านล้านเท่า สนามแม่เหล็กของมันสามารถฉีกร่างของสิ่งมีชีวิตนอกอาณาเขต 1,000 กม. ได้ หากมันเกิดการแกว่ง ต่อให้มันอยู่ห่างจากโลกมากกว่าหนึ่งหมื่นปีแสง พลังที่มันปล่อยออกมาก็สามารถทำลายพื้นผิวโลกได้
28. ถ้าในระบบสุริยะมีพระอาทิตย์สองดวง จะเกิดอะไรขึ้น? (ep57)
ตอบ : ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจะเริ่มหมุนรอบศูนย์กลางพลังระหว่างดวงอาทิตย์สองดวง นับจากนี้จะกลายเป็น “ระบบดาวสองดวง” ในระบบนี้ดาวอังดารที่มีรัศมีการโคจรนานกว่าอาจจะกลายเป็นดาวที่อาศัยอยู่แทนโลกได้
29. ในอวกาศที่ราวกับป่าไม้อันมืดมิดนี้ โลกเคยเปิดเผยตำแหน่งที่ตั้งหรือไม่? (ep58)
ตอบ : ฟรีออนที่ใช้อย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ทำความเย็นจะลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานานหลังถูกปล่อยออกมา แสงที่สะท้อนจากสารที่ซับซ้อนนี้จะสามารถมองเห็นได้ในสเปกตรัมของดาวเคราะห์และกลายเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมมีความเสี่ยงถูกอารยธรรมนอกโลกค้นพบ
30. สำหรับมนุษย์ เวลาคืออดีต ปัจจุบันและอนาคต แล้วสำหรับอวกาศที่กว้างใหญ่ไร้ขอบเขต เวลาคืออะไร? (ep59)
ตอบ : เดิมทีเวลาคือผลลัพธ์ในการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่ง 1.39หมื่นล้านปีก่อน อวกาศเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ ก่อเกิดแนวคิดเรื่องเวลาและพื้นที่ขึ้น แต่วิเคราะห์จากหลักฐาน เมื่อความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง ความเร็วในการไหลของเวลาจะใกล้เคียงกับศูนย์ แต่พลังงานคือการอนุรักษ์พลังงานในอวกาศไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ภายใต้สมมติฐานเหล่านี้ สำหรับอวกาศแล้วเวลาไม่มีอยู่จริง
31. นักบินอวกาศสะอึกในอวกาศได้ไหม? (ep60)
ตอบ : ในอวกาศไม่มีแรงโน้มถ่วง อากาศในท้องของนักบินอวกาศไม่สามารถแยกออกมาจากอาหารที่ย่อยได้ ดังนั้นนักบินอวกาศสะอึกในอวกาศไม่ได้
32. ทางช้างเผือกมีขนาดใหญ่ม่ก มนุษย์สามารถบินด้วยความเร็วแสงออกจากทางช้างเผือกได้หรือไม่? (ep61)
ตอบ : ไม่ได้ เมื่อความเร็ววัตถุเป็นอนันต์ ที่มีค่าใกล้เคียงกับศูนย์ ปริมาณของมันจะขยายใหญ่เป็นอนันต์ พลังที่ต้องการก็เป็นอนันต์เช่นกัน อันดับแรกร่างกายมนุษย์ไม่สามารถรองรับน้ำหนักแบบนี้ได้ อีกอย่างในธรรมชาติก็หาสิ่งที่ทำให้แรงขับเคลื่อนที่มีพลังงานเป็นอนันต์ไม่พบ
33. พระอาทิตย์ตกบนดาวอังคารเป็นสีอะไร? (ep62)
ตอบ : พระอาทิตย์ตกบนดาวอังคารเป็นสีฟ้า พระอาทิตย์ตกสีแดงที่เห็นบนโลก เพราะชั้นบรรยากาศเกิดการกระเจิงแบบเรเลห์ ทำให้สีฟ้าลดลงส่วนพระอาทิตย์สีฟ้าที่เห็นบนดาวอังคารเพราะแสงสีแดงที่สะท้อนออกมาจากทรายจำนวนมากทำให้แสงสีแดงลดลง
34. เพราะเหตุใดดาวฤกษ์บางดวงจึงเป็นสีฟ้า บางดวงจึงเป็นสีแดง? (ep63)
ตอบ : ยิ่งดาวฤกษ์มีอุณหภูมิต่ำรังสีคลื่นยาวของแสงที่มันส่องออกมาจะมีสีแดงส้มเป็นหลัก เมื่อมองจึงเห็นเป็นสีแดง ยิ่งดาวฤกษ์มีอุณหภูมิสูง รังสีคลื่นสั้นของแสงที่มันส่องออกมาจะมีสีฟ้าเป็นหลัก เพราะแบบนี้เมื่อมองจึงเห็นเป็นสีฟ้า
35. จากการสำรวจของนักดาราศาสตร์บางกาแล็กซีจะปรากฏให้เห็นเป็นกลุ่ม หรืออยู่ในสภาวะเกาะกลุ่มกัน ถ้าอย่างนั้นเพราะเหตุใดกาแล็กซีเหล่านี้ถึงชอบ “เกาะกลุ่ม” กัน? (ep64)
ตอบ : แม้แต่ในเอกภพขนาดใหญ่ที่มีดาราจักรเป็นหน่วยพื้นฐาน เหตุผลก็สามารถย้อนกลับไปดูกฏความโน้มถ่วงสากลของนิวตันได้ และเป็นเพราะผลกระทบจากกฏความโน้มถ่วง บริเวณที่มีความหนาแน่นที่สุดในเอกภพจะสามารถดึงดูดสสารได้มากกว่า ความหนานแน่นก็จะยิ่งเพิ่ม กลายเป็นกลุ่มและกระจุกดาราจักร
36. เพราะเหตุใน “พอยท์นีโม” ถึงถูกเรียกว่าเป็น “สุสานยานอวกาศในเอกภพ”? (ep65)
ตอบ : “พอยท์นีโม” ตั้งอยู่ตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นสถานที่ในมหาสมุทรที่ห่างไกลพื้นดินที่สุด ที่นี่เวิ้งว้างมาก แม้แต่ร่องรอยการใช้ชีวิตของสัตว์ก็ไม่มี สิ่งแวดล้อมที่นี่อยู่ในสภาวะปิด เพราะเหตุนี้จึงกลายเป็นจุดทิ้งยานอวกาศที่ไม่ใช้แล้ว จึงได้ชื่อว่าเป็น “สุสานยานอวกาศในเอกภพ”
37. จนปัจจุบัน มนุษย์โลกยังไม่ค้นพบร่องรอยการมีอยู่ของมนุษย์คต่างดาว เป็นไปได้หรือไม่ว่ามนุษย์ต่างดาวจะมีชีวิตอยู่ต่างจากที่มนุษย์จินตนาการโดยสิ้นเชิง? (ep66)
ตอบ : มนุษย์โลกคือสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นธาตุพื้นฐาน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีร่างกาย แต่นักวิทยาศาสตร์เคยกล่าวไว้ “สิ่งมีชีวิตที่มีซิลิคอนเป็นฐานพื้นฐาน จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในรูปแบบมีร่างกาย หรืออาจจะอยู่ในสภาวะของเหลว สภาวะอากาศ หรือกระทั่งสภาวะสุญญากาศ ในสภาวะเหล่านี้ จากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นเรื่องยากมากที่จะระบุว่ามันคือสิ่งมีชีวิตหรือไม่”
38. จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคนหนึ่งตกลงบนดาวนิวตรอน? (ep67)
ตอบ : ดาวนิวตรอนคือวัตถุท้องฟ้าที่เกิดจากซากดาวฤกษ์มวลมากที่สิ้นอายุขัยแล้วเกิดซูเปอร์โนวา ความหนาแน่นเป็นรองแค่หลุมดำ เมื่อร่างมนุษย์กระทบกับดาวนิวตรอนจะเกิดระเบิดนิวเคลียร์ที่มีความรุนแรงออกมาเกือบสองร้อยล้านตัน
39. วงแหวนดาวเคราะห์ที่อยู่ล้อมรอบโครงสร้างดาวเคราะห์ ทำไมดาวเคราะห์บางดวงถึงมี แต่บางดวงไม่มี? (ep68)
ตอบ : จากการคาดเดา การก่อตัวของวงแหวนดาวเคราะห์และตัวของดาวเคราะห์เอง เกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดในแง่หนึ่งจะดึงดูดสสารระหว่างดาวเคราะห์ได้มากขึ้น อีกแง่หนึ่งจะทำให้ดาวบริวารที่อยู่ใกล้เคียงไม่สามารถรักษารูปร่างของตัวเองไว้ได้และถูกฉีกออก กลายเป็นสสารที่อยู่ในรูปแบบสายรัด
40. เมื่อเกิดจันทรุปราคา เพราะเหตุใดมองจากบนโลกถึงเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง? (ep69)
ตอบ : เพราะแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงดวงจันทร์ที่อยู่ในเงาของโลก แต่มีลำแสงบางส่วนที่หักเหและกระจายผ่านชั้นบรรยากาศของโลกทำให้แสงสีแดงส่องไปถึงดวงจันทร์ได้ จึงส่งผลให้มองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง
41. ดาวพฤหัสบดีที่น่ากลัวและสวยงามทำให้นักดาราศาสตร์นับไม่ถ้วนหลงใหล แล้วมนุษย์นักสำรวจจะมีสักวันที่ได้ยืนบนดาวพฤหัสบดีหรือไม่? (ep70)
ตอบ : ดาวพฤหัสบดีต่างจากโลก ดาวพฤหัสบดีไม่มีพื้นดินที่มั่นคง มันเป็นแค่ดาวเคราะห์ที่ก่อตัวขึ้นจากอากาศและสสารอื่น ดังนั้นถ้าคนคนหนึ่งถูกโยนลงบนพื้นผิวดาวพฤหัสบดี เขาคนนั้นก็จะทะลุผ่านชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีและตกลงไปไม่สามารถยืนได้
42. หากโลกถูกทำลาย ในระบบสุริยะยังมีดาวที่เหมาะสมกับการอพยพประชากรหรือไม่? (ep71)
ตอบ : ในระบบสุริยะดาวที่คล้ายกับโลกมากที่สุดคือดาวศุกร์ แต่น่าเสียดายที่บนดาวศุกร์ไม่มีของเหลวเลยและขาดแคลนออกซิเจนอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ น้ำและอากาศบนดาวศุกร์จึงไม่เหมาะกับการดำรงชีวิตของมนุษย์
43. นับตั้งแต่มนุษย์เกิดมาบนโลกรวมเวลาได้เพียงหลายล้านปี เป็นเพียงเวลาชั่วพริบตาเดียวเมื่อเทียบกับโลกที่มีประวัติศาสตร์นานถึง 4.6พันล้านปี แล้วจะเป็นไปได้หรือไม่ ว่าก่อนที่มนุษย์จะเกิดมาโลกเคยมีอารยธรรมอื่นมาก่อน? (ep72)
ตอบ : จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ยังไม่พบหลักซานของอารยธรรมที่มีสติปัญญาสูงก่อนที่มนุษย์จะเกิด ในอดีตไดโนเสาร์ยึดครองพื้นดิน ทะเลมหาสมุทร และในอากาศยาวนานถึง 2.4ร้อยล้านปี แต่ตอนนั้นโลกยังไม่ปลอดภัย เกิดธรณีพิบัติไม่หยุดหย่อน เกิดการสูญพันธุ์ทางชีวภาพบ่อยครั้ง ไม่มีธรรมชาติที่ปลอดภัยเป็นเวลานานให้ไดโนเสาร์ได้วิวัฒนาการ
44. ถ้ามีการปล่อยระเบิดไฮโดรเจนที่มีพลังทำลายล้างที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จะสามารถสร้างผลที่ตามมาอย่างไร? (ep73)
ตอบ : ซาร์บอมบา คือระเบิดไฮโดรเจนที่มีพลังทำลายล้างที่สุดของมนุษย์ชาติ สหภาพโซเวียตสร้างขึ้นในยุคสงครามเย็น มีขนาดเทียบเท่ากับการระเบิดของทีเอ็นที50เมกะตัน คิดเป็น 4,000เท่าของ “ลิตเติลบอย” ระเบิดปรมาณูลูกแรกที่สหรัฐทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมะ เพียงพอให้ทำลายญี่ปุ่นได้
45. ในระบบสุริยะดาวเคราะห์ดวงใดที่มีอุณหภูมิพื้นผิวสูงที่สุด? (ep74)
ตอบ : ดาวศุกร์ จากการป้องกันแก๊สเรือนกระจกที่หนามาก ทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวดาวศุกร์อยู่ระหว่าง 438-482 องศาเซลเซียลตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิสูงกว่าดาวพุธที่มีตำแหน่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเสียอีก
46. ต่างบอกกันว่าบนฟ้าไม่อาจมีดวงอาทิตย์สองดวง อย่างนั้น ถ้าหนึ่งกาแล็กซีมีดาวฤกษ์สองดวง ดาวเคราะห์ในระบบนั้นจะโคจรอย่างไร? (ep75)
ตอบ : หากดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ทั้งสองดวงค่อนข้างมาก สามารถมองพระอาทิตย์สองดวงเป็นดวงเดียวได้แล้วดาวเคราะห์จะหมุนรอบทั้งคู่เป็นวงกลม แต่ถ้าพระอาทิตย์สองดวงค่อนข้างห่างกัน ดาวเคราะห์จะหมุนรอบจุดร่วมของพระอาทิตย์สองดวง บนดาวเคราะห์ก็จะมีโอกาสเห็นปาฏิหาริย์ที่พระอาทิตย์ดวงหนึ่งตก และอีกดวงหนึ่งขึ้น
47. เหตุใดมนุษย์ถึงต้องศึกษาระเบิดไฮโดรเจน อานุภาพของมันมีมากขนาดไหนกันแน่? (ep76)
ตอบ : ในยุคสงครามเย็น อเมริกาและโซเวียตต่างก็วิจัยและสร้างระเบิดไฮโดรเจน ระเบิดไฮโดรเจนสามารถทำให้เกิดนิวเคลียร์ฟิวชันที่อานุภาพร้ายแรงกว่าระเบิดปรมาณูได้ มีประโยชน์ที่สำคัญมากต่อยุทธศาสตร์การรบ สหภาพโซเวียตเคยทิ้งระเบิดไฮโดรเจนที่อานุภาพสูงสุดในประวัติศาสตร์มวลมนุษย์ ซึ่งก็คือระเบิดไฮโดรเจนซาร์บอมบาที่มีขนาดเทียบเท่ากับการระเบิดของทีเอ็นที 50ล้านตัน เทียบเท่า1.4% ของกำลังที่ดวงอาทิตย์แผ่ออกมา
48. เหตุใดถึงใช้ดินสอในอวกาศไม่ได้? (ep77)
ตอบ : ส่วนประกอบหลักของดินสอคือตะกั่วดำ ในระหว่างที่ขีดเขียนอาจจะเกิดการแตกหักได้ การลอยในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ไส้ดินสออาจจะลอยเข้าจมูกหรือตา ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ หรืออาจจะลอยเข้าไปในเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าขัดข้องได้
49. ในฐานะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป เป็นพื้นฐานของจักรวาลวิทยา วันนี้ในอีกหนึ่งร้อยปีให้หลัง มันจะยังเป็นทฤษฏีพื้นฐานอยู่หรือไม่? (ep78)
ตอบ : ตั้งแต่ที่ทฤษฏีนี้ถูกเสนอเป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง คลื่นความโน้มถ่วงหรือปรากฏการณ์อื่นที่ค้นพบล้วนได้พิสูจน์ความถูกต้องของทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป แต่ก็มีนักจักรวาลวิทยาบางคนคิดว่าคำถามเรื่องสสารมืดและพลังงานมืดที่ขยายออกมาจากทฤษฏีนี้นั้นขัดแย้งกัน
50. ในเมื่ออุณหพลศาสตร์ไม่อาจสวนย้อนแสดงว่าจักรวาลต้องเดินไปยังความเสื่อมถอยล่มสลาย เช่นนั้นพลังงานในจักรวาลครั้งนี้จะหายไปอย่างไม่สอดคล้องกับกฏการอนุรักษ์พลังงานหรือไม่? (ep79)
ตอบ : การเสื่่อมถอยล่มสลายของจักรวาลไม่ได้หมายความว่าจักรวาลจะหายไปตรงนั้น แต่พลังงานความร้อนในจักรวาลทั้งหมดถูกแปลงกลายเป็นพลังงานที่ไม่เป็นผล ไม่สามารถถูกนำมาใช้ได้อีก อุณหพลศาสตร์ไม่อาจสวนย้อน ไม่ได้หมายถึงพลังงานหายไป แต่พลังงานกลายเป็นใช้ไม่ได้
51. ดาวฤกษ์ซ่อนแฝงพลังงานที่น่ากลัวมากไว้ แล้วถ้าดาวฤกษ์สองดวงชนกันจะเกิดอะไรขึ้น? (ep80)
ตอบ : ถ้าดาวฤกษ์สองดวงชนกันด้วยความเร็วต่ำมาก ทั้งสองก็จะรวมตัวกันกลายเป็นดาวฤกษ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติใหญ่ขึ้น ถ้าชนด้วยความเร็วสูงถึงความเร็ววิกฤต สสารดาวฤกษ์จะสลายกลายเป็นเมฆก๊าซพองตัวขนาดใหญ่ยักษ์ ไม่สามารถกลับมารวมกลายเป็นดาวฤกษ์ใหม่ได้อีกต่อไป
52. เมื่อสังเกตการขยายตัวเองของเอกภพจากโลก จะเห็นว่ากาแล็กซีทั่วทุกทิศทางกำลังออกห่างจากโลก จะสรุปได้หรือไม่ว่าโลกเป็นศูนย์กลางการขยายตัวของเอกภพด้วยเหตุนี้? (ep81)
ตอบ : ไม่ได้ การขยายตัวของเอกภพไม่เหมือนกับการจุดพลุระเบิดที่มีจุดศูนย์กลาง แต่เหมือนเป็นพื้นผิวลูกโป่งที่พองตัวสม่ำเสมอกัน ทุกที่ล้วนเป็นจุดศูนย์กลางของการขยายตัว
53. ทำไมนักบินอวกาศถึงนอนกรนไม่ได้? (ep82)
ตอบ : เพราะคนที่นอนกรนจะเกิดอันตรายจากภาวะการหยุดหายใจขณะหลับได้ง่าย ซึ่งเป็นอันตรายมากในอวกาศ
54. ถ้ามนุษย์วิวัฒนาการต่อ สุดท้ายจะกลายเป็นยอดมนุษย์ได้หรือไม่? (ep83)
ตอบ : เป้าหมายของการวิวัฒนาการไม่ใช่เพื่อแข็งแกร่งขึ้น ฉลาดขึ้น แต่เพื่อการดำรงอยู่ จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทิศทางการวิวัฒนาการก็ไม่เหมือนกัน ถ้าสิ่งแวดล้อมเลวร้าย มนุษย์อาจจะวิวัฒนาการไปในทิศทางที่เนื้อหนังเป็นเครื่องจักร และอาจวิวัฒนาการเป็นชีวิตพลังงานบริสุทธิ์ก็ได้
55. ระบบสุริยะมีขอบเขตที่แน่ชัดหรือไม่? (ep84)
ตอบ : ขอบเขตของระบบสุริยะจะขยายออกไปต่อเนื่อง ตามการพัฒนาของเทคโนโลยีการสังเกต จากการคาดคะเนล่าสุด เมฆออร์ตที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 7.5ล้านล้าน ถึง 22.5ล้านล้านกิโลเมตร คือขอบเขตสุดที่แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ควบคุมถึง
56. ในท้องฟ้าซึ่งเต็มไปด้วยดวงดาวอันงดงามมีดาวฤกษ์มากมายเคียงข้างพึ่งพาอาศัยกัน เหมือนเงาตามตัว นี่คือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อะไร? (ep85)
ตอบ : ปรากฏการณ์นี้มีชื่อว่า “ดาวคู่” พวกมันบางดวงเคลื่อนที่วนรอบดาวฤกษ์อีกดวง มีแรงดึงดูดซึ่งกันและกันพวกเราเรียกพวกมันว่าดาวคู่ฟิสิกส์ แต่บางดวงก็แค่ดูเหมือน “อยู่ด้วยกัน” ซึ่งที่จริงอยู่ห่างกันมากก็เรียกว่าดาวคู่ทัศนศาสตร์
57. ในจักรวาลมีน้ำแข็งอยู่ไหม? (ep86)
ตอบ : มี นิวเคลียสของดาวหางประกอบด้วยน้ำแข็ง เรียกว่า “อุกกาบาตน้ำแข็ง” เมื่อดาวหางโดยอุกกาบาตชน เศษน้ำแข็งบางส่วนจะกระเด็นออกมา บางครั้งก็ชนโลกและผ่านชั้นบรรยากาศลงสู่พื้นดิน
58. จักรวาลมีเพียงหนึ่งเดียวหรือไม่? (ep87)
ตอบ : ตามทฤษฏีการขยายตัวของจักรวาลนั้น มีนักวิทยาศาสตร์เสนอว่าจักรวาลประกอบด้วยส่วนต่างๆ มากมายที่แบ่งแยกออกจากกันและมีอัตราการขยายตัวที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ แต่ละส่วนจะก่อให้เกิดจักรวาลขนาดเล็กเนื่องจากการขยายตัว สรุปคือ จักรวาลคือผลรวมของจักรวาลขนาดเล็กที่มีขนาดต่างกัน
59. ทำไมถึงมีปรากฏการณ์การระเบิดของซูเปอร์โนวาเกิดขึ้น? (ep88)
ตอบ : ในช่วงหลังของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์มวลมาก สตาร์คอร์และสตาร์เชลล์แยกกันอย่างสิ้นเชิง มักจะเคียงมากับการระเบิดใหญ่ซูเปอร์ครั้งหนึ่ง การระเบิดแบบนี้จะสว่างจ้าสุดๆ มักสามารถส่องสว่างทั้งระบบดาวที่อยู่ทั้งหมดได้และดำรงอยู่หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน
60. โลกมีชั้นบรรยากาศ แล้ววัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ในระบบสุริยะมีชั้นบรรยากาศด้วยหรือไม่? (ep89)
ตอบ : ผิวนอกของดวงอาทิตย์ห่อด้วยชั้นบรรยากาศเหมือนกับโลก วงแสงดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นคือชั้นในสุด ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ภายในชั้นบรรยากาศมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรง ดังนั้นใช้กล้องส่องทางไกลสามารถมองเห็นด้านบนมีโครงสร้างเป็นจุดที่แน่นขนัดมากมาย
61. จักรวาลนั้นกว้างใหญ่ ตามทฤษฏีแล้วสภาพแวดล้อมที่แต่ละอารยธรรมอยู่นั้นแตกต่างกัน ต้นไม้เทคโนโลยีที่พวกเขาพบก็จะแตกต่างกันไป แล้วจะมีอารยธรรมเวทมนตร์ดำรงอยู่หรือไม่? (ep90)
ตอบ : เวทมนตร์ที่ว่าคือคนโบราณให้คำอธิบายต่อปรากฏการณ์ที่ไม่เข้าใจอย่างฝืนๆ ถ้าพวกเราสังเกตอารยธรรมในจักรวาลดูแล้วเหมือนเวทมนตร์ อันที่จริงมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ของเราล้าหลังอีกฝ่ายห่างไกล ไม่สามารถเข้าใจวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของอีกฝ่ายได้
62. เครื่องสำรวจไร้คนขับที่จีนส่งไปดาวอังคารครั้งแรกหมายถึงอะไร? (ep91)
ตอบ : วันที่ 15 พ.ค. 2021 ภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีน เครื่องสำรวจเทียนเวิ่นหมายเลข1 ลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ จีนกลายเป็นประเทศที่สำรวจดาวอังคารครั้งแรก ก็บรรลุภารกิจลงจอดและตระเวนสำรวจโดยรอบดาวอังคาร เป็นการทะลุขีดจำกัดของการเดินอวกาศจีน ทำให้นานาประเทศชื่นชมและก็เป็นทางที่ต้องผ่านเพื่อก้าวไปยังอวกาศที่ไกลยิ่งขึ้นในอนาคต
63. ตอนที่ยานอวกาศเพิ่มความเร็วต่อเนื่อง ทั้งท้องฟ้ามีดาวจะหดตัวในการมองเห็นของเราต่อเนื่อง วัตถุท้องฟ้าข้างหน้าดูเหมือนไกลออกไปมากขึ้น จะอธิบายปรากฏการณ์แบบนี้อย่างไร? (ep92)
ตอบ : ทิศทางของแสงที่ผู้สังเกต สังเกตขณะอยู่นิ่งและเคลื่อนไหวจะมีการเบี่ยงเบน หากคนยืนนิ่งกลางสายฝน จะรู้สึกว่าเม็ดฝนตกลงมาแนวตั้ง ตอนเคลื่อนไหวก็จะตกลงมาแนวเฉียง หลักการเดียวกัน ยานอวกาศที่อยู่ในสภาพเคลื่อนไหวต่างกัน ทิศทางสายตาที่สังเกตได้ก็จะต่างกัน นี่คือปรากฏการณ์ความคลาดเคลื่อนของแสง
64. ผู้คนที่ต่างๆ ในโลกจักรวาลจะสื่อสารไม่คล่องเพราะความแตกต่างของภาษา ภาษาของมนุษย์ต่างดาวยิ่งไม่อาจวิเคราะห์ได้ ภาพฉาก “ทั้งจักรวาลพูดภาษาจีนหมด” เป็นไปไม่ได้ในโลกความเป็นจริง แล้วมนุษย์ควรสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวยังไงกันแน่? (ep93)
ตอบ : ขอเพียงมีตรรกะคณิตศาสตร์พื้นฐานก็จะสื่อสารทั่วทั้งจักรวาลได้ เพราะมีเพียงภาษาเดียวที่แลกเปลี่ยนกับมนุษย์ต่างดาวได้ นั่นคือคณิตศาสตร์
65. ทำไมบอกว่าดาวพฤหัสบดีคือเทพคุ้มครองโลก มันสำคัญกับโลกแค่ไหน? (ep94)
ตอบ : ดาวพฤหัสบดีขนาดใหญ่มหึมามีแรงดึงดูดรุนแรงมาก สสารใดที่ทะลุไปยังภายในระบบสุริยะจะถูกแรงดึงดูดสุดแกร่งของดาวพฤหัสบดีดูดไว้ ถ้าไม่มีดาวพฤหัสบดี จำนวนครั้งที่โลกถูกอุกกาบาตชนจะเพิ่มขึ้นมาก พลังทำลายก็ยากที่จะคาดเดา
66. ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยสสารผ่านการฟิวชันตลอดเวลา จึงทำให้ค่อยๆ สูญเสียคุณภาพไป แบบนี้จะทำให้เกิดผลตามมาอย่างไร? (ep95)
ตอบ : การสูญเสียคุณภาพทำให้แรงดึงดูดลดลง รัศมีวงโคจรเฉลี่ยที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ใหญ่ขึ้น ทำให้โลกค่อยๆ ห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น
67. พื้นที่มหาสมุทรใหญ่กว่าผืนดินหนึ่งเท่ากว่า ทรัพยากรก็อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง ทำไมสัตว์ทะเลถึงไม่เกิดวิวัฒนาการทางอารยธรรมล่ะ (ep96)
ตอบ : สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการเพื่อการดำรงอยู่ การดำรงอยู่ต้องปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมทั่วไปที่ความกดอากาศสูงอุณหภูมิต่ำ จะขาดออกซิเจนของมหาสมุทร กำหนดให้สัตว์ทะเลต้องใช้พลังงานจำนวนมากรักษาการดำรงอยู่โดยพื้นฐานจึงไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะพัฒนาสมอง ทำให้สัตว์ทะเลไม่อาจวิวัฒนาการไปสู่สิ่งมีชีวิตที่มีปัญญาได้
68. วัตถุท้องฟ้าที่คงรูปทรงกลมไว้ได้ ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะคือดวงไหน (ep97)
ตอบ : ไมมัส ในส่วนประกอบที่ประกอบขึ้นเป็นดวงดาว มีน้ำแข็งเป็นจำนวนมาก พื้นผิวดวงดาวมีหลุมกระแทกขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง398 กม. เป็นดาวบริวารทรงกลมที่เล็กที่มีขนาดเล็กที่สุด ที่รู้กันในระบบสุริยะ
70. .. (ep98)
ตอบ : ..
71. .. (ep99)
ตอบ : ..
72. .. (ep100)
ตอบ : ..
____________________________
💭จากนิยาย มหาศึกล้างพิภพ Swallowed Star (吞噬星空) ของผู้แต่ง หว่อชือซีหงซื่อ (我吃西红柿)
0 comments:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น